[Tlc] T-politics

justinm at ucr.edu justinm at ucr.edu
Mon Dec 15 07:45:53 PST 2008


Forwarded from Dr. Charnvit Kasetsiri.
Thanks,
justin

รายงานเสวนา: การเมืองสยามประเทศ (ไทย) –หลังรัฐบาลใหม่และหลังรัฐธรรมนูญ 2550

 

 

เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2551 มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ร่วมกับกองทุนจิตร ภูมิศักดิ์ และหลักสูตรควบ 5 ปี ตรี/โท คณะพานิชยศาสตร์และการบัญชี มธ. ร่วมจัดเสวนาหัวข้อ การเมืองสยามประเทศ (ไทย) –หลังรัฐบาลใหม่และหลังรัฐธรรมนูญ 2550 โดยมีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย รศ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รศ.ดร.ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และศาสตราจารย์ผาสุก พงษ์ไพจิตร คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินรายการโดย รศ.พิภพ อุดร คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

000

วรเจตน์ ภาคีรัตน์

"สมมติว่าคนที่เป็นนายกรัฐมนตรีนั้นไม่ได้เป็นไปตามที่กลุ่มอำนาจทางการเมืองต้องการ ก็อาจจะเกิดปัญหาทางกฎหมายได้ เช่น ส.ส. ที่สังกัดพรรคการเมืองที่ถูกยุบไป แล้วยังไม่ได้เข้าไปในพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง มีสิทธิโหวตหรือไม่ คือถ้าไม่เป็นไปตามต้องการ ก็จะเอาเกณฑ์ตามกฎหมายนั้นมาเล่น นี่เป็นเรื่องที่อาจจะเกิดขึ้นได้"

 

"เราจะพบว่ามีความพยายามตีความไปให้เกิดสุญญากาศยิ่งกว่าตีความให้ระบบมันเดิน เพราะถ้าให้เกิดสุญญากาศ อำนาจที่ไม่ใช่อำนาจในระบบ ก็จะเข้ามาได้อย่างชอบธรรมมมากขึ้น"

 

"การเคารพนับถือหรือการยอมรับอำนาจตุลาการไม่ได้เกิดจากการที่มีกฎหมายไปกดคน หรือการบอกว่ามีการตัดสินแล้วให้มันจบไ ป แต่ต้องทำให้คนได้รับความรู้สึกว่า คนได้รับความเป็นธรรมจากการตัดสิน"

 

"การเอาชนะกันทางการเมืองแบบที่คนชนะได้ไปทั้งหมด จะเป็นปัญหาทางการเมืองของเรา และกฎหมายจะยิ่งถูกกัดเซาะ และเมื่อวันนั้นเมื่อความเชื่อมั่นมันน้อยลงไปถึงระดับที่คนไม่ยอมรับหรือไม่เชื่อมั่น ผมไม่สามารถบอกได้ว่าเมื่อไหร่ หากยังติดยึดกับประเด็นของคุณทักษิณอยู่"

 

 

 

การทำความเข้าใจการเมืองต้องวิเคราะห์ทั้งกติกาของอำนาจ และกลุ่มผลประโยชน์ที่ใช้อำนาจประกอบกัน ตัวกติกาหลักก็คือรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจจะมองในแง่ความเป็นจริงและในแง่อุดมการณ์ มีนักวิชาการจำนวนไม่น้อยเสนอว่าควรจะมองรัฐธรรมนูญในแง่ความเป็นจริง แต่ผมเห็นว่ามันจะขาดมิติด้านอุดมการณ์

สำหรับกลุ่มผลประโยชน์ที่มาใช้อำนาจนั้น กลุ่มอำนาจเดิมคือข้าราชการระดับสูงซึ่งเป็นกลุ่มอำนาจที่ดำรงอยู่มานานในสังคมไทย ในแง่ของตัวกติกาที่กำหนดอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 นั้นคือการจำกัดอำนาจนักการเมืองลง และเพิ่มอำนาจให้กลุ่มที่มีบทบาทเหล่านี้ การวิเคราะห์กลไกหรือกติการัฐธรรมนูญนั้นทำได้ง่ายซึ่งเปิดเผย และง่ายกว่าการวิเคราะห์กลุ่มพลังผลประโยชน์ที่เป็นจริงในสังคมไทย

ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมานี้ มีหลายเรื่องปรากฏ มีถ้อยคำหลายคำที่ปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์ และสื่อมวลชน เป็นถ้อยคำที่สะท้อนอำนาจที่ดำรงอยู่ในความเป็นจริงของสังคมไย ถ้าเราไม่สามารถเข้าใจอำนาจเหล่านี้ เราก็ไม่สามรรถทำความเข้าใจปรากฏการณ์ที่เป็นจริงของสังคมไทยได้

 

ง่ายๆ คือ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา สื่อได้นำเสนอเรื่อง "คำขอของบุคคลที่ไม่อาจปฏิเสธได้" นี่คือความเป็นจริง ก่อนหน้านี้มีการพูดถึงการยึดสนามบินสุวรรณภูมิว่าเป็นม็อบมีเส้น อำนาจเหล่านี้เป็นอำนาจในทางเป็นจริง ซึ่งกำหนดกติกา และเป็นส่วนหนึ่งและเป็นเหตุสำคัญของปัญหาทางการเมืองที่เรากำลังประสบ และคนทั่วไปมองเห็นไม่ชัดเจน

เมื่อเรามองสองส่วนนี้แล้ว ถ้าเรามีรัฐบาลใหม่จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าเราย้อนกลับไปดู เรามีการเลือกตั้งครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2550 และเรามีรัฐมนตรีมาแล้ว 2 คน และทั้ง 2 คนพ้นจากตำแหน่งไปโดยบทบาทของศาลรัฐธรรมนูญ แต่เราประสบปัญหาที่แน่นอนประการหนึ่งคือ ปัญหาเสถียรภาพของรัฐบาล ทุกคนต่างก็ตั้งคำถามว่ารัฐบาลใหม่นี้จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร ฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายขึ้นครองอำนาจ และจะดำรงอยู่ได้นานหรือไม่ แต่ผมคิดว่า ไม่ว่าใครก็ตามเราจะได้รัฐบาลที่ไม่มีเถียรภาพอย่างแน่นอน

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ผมขอเริ่มจาก ตัวอย่างที่จะเกิดขึ้นก่อน ในวันพรุ่งนี้ซึ่งจะมีการเลือกนายกฯ ถ้าเหตุการณ์นั้นผ่านไปได้ คือมีบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ได้เสียงโหวตเกินกว่าครึ่งหนึ่ง แต่สมมติว่าคนที่เป็นนายกรัฐมนตรีนั้นไม่ได้เป็นไปตามที่กลุ่มอำนาจทางการเมืองต้องการ ก็อาจจะเกิดปัญหาทางกฎหมายได้ เช่น ส.ส. ที่สังกัดพรรคการเมืองที่ถูกยุบไป แล้วยังไม่ได้เข้าไปในพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง มีสิทธิโหวตหรือไม่ คือถ้าไม่เป็นไปตามต้องการ ก็จะเอาเกณฑ์ตามกฎหมายนั้นมาเล่น นี่เป็นเรื่องที่อาจจะเกิดขึ้นได้

 

ปัจจัยในทางการเมือง เราพบว่ารัฐบาลนี้เกิดขึ้นภายใต้ความขัดแย้งและความแตกแยกทางความคิดระหว่าง 2 ฝ่าย แม้จะไม่มีการชุมนุมแต่ความขัดแย้งนั้นกำลังดำรงอยู่ ไม่ว่าใครจะเป็นรัฐบาลก็ต้องเผชิญกับการต่อต้าน ประชาธิปัตย์ต้องเผชิญกับการต่อต้านจากฝ่ายเสื้อแดง และพรรคเพื่อไทยก็ต้องเผชิญแรงต่อต้านจากฝ่ายเสื้อเหลือง และทำให้บริหารประเทศลำบาก

 

ปัจจัยด้านรัฐสภา ก็จะพบปัญหาเรื่องคะแนนเสียงที่สนับสนุนรัฐบาล โดยเหตุที่คะแนนเสียงของสองฝ่ายที่มีอยู่ขณะนี้ค่อนข้างก้ำกึ่งกัน ประชาธิปัตย์ หรือฝ่ายที่จะมาเป็นรัฐบาล แม้จะมีเสียงมาก แต่ก็ไม่ขาด และยังจะมีการเลือกตั้งซ่อม และถ้ารัฐบาลมีเสียงไม่ขาดมากนัก ก็จะมีปัญหา ในการผลักดันนโยบายและกฎหมายต่างๆ และส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นเชื่อถือที่คนมีต่อรัฐบาลและต่างประเทศ

 

ประการที่ 3 คือปัจจัยทางกฎหมาย ก่อนที่จะมีการลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญ ผมเองเคยพูดไว้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับ 2550 นี้จะนำประเทศไปสู่หนทางตัน เราอาจจะเห็นกลไกกฎหมายเป็นลำดับ และเราเห็นว่ามีการใช้กลไกกฎหมายในการาต่อสู้ทางการเมือง และหลายเรื่องเป็นเรื่องหยุมหยิมและมีผลกระทบต่อรัฐบาล เช่นเรื่องของคุณสมัคร มีกติกาแบบนั้น ปรากฏอยู่ในหลายๆ มาตราของรัฐธรรมนูญ และทำให้รัฐสภานั้นล้มไปได้ คณะรัฐมนตรีดำรงอยู่ โดยมีนายกฯ เป็นหลัก ถ้าคุณโค่นนายก ได้ คุณก็ล้มคณะรัฐมนตรีได้

ผมยังเชื่ออยู่ว่าความพยายามที่จะเอาการเมืองจากนอกระบบเข้ามาทแทนที่นั้น ยังดำรงอยู่ไม่เฉพาะในระบบเท่านั้น ถ้าเราไปดูการตีความกฎหมายนั้นเราจะพบว่ามีความพยายามตีความไปให้เกิดสุญญากาศยิ่งกว่าตีความให้ระบบมันเดิน เพราะถ้าให้เกิดสุญญากาศ อำนาจที่ไม่ใช่อำนาจในระบบ ก็จะเข้ามาได้อย่างชอบธรรมมมากขึ้น เพราะฉะนั้นก็เป็นไปได้ที่กลุ่มพลังหรือกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ พยายามทำให้เกิดสุญญากาศทางการเมือง เพื่อให้อีกกลุ่มหนึ่งเข้ามาเปลี่ยนแปลงกติกาใหม่ให้ได้แบบที่ต้องการ รัฐธรรมนูญก็จะถูกใช้เป็นสนามประลองกำลัง

 

คำถามว่า รัฐบาลใหม่ นี้ จะเป็นรัฐบาลใหม่จากในระบบ หรือนอกระบบ และ ถ้าไม่มีรัฐธรรมนูญ 2550 แล้ว มันจะเกิดอะไรขึ้น ในฐานะที่รัฐธรรมนูญ เป็นสนามประลองกำลัง ผมคิดว่าน่าจะมี 3 กลุ่มที่มีความคิดเห็นแตกต่างกันเรื่องรัฐธรรมนูญ

 

กลุ่มแรกคือกลุ่มทีต้องคงกติกาอันนี้ไว้ให้นานที่สุด โดยอ้างการลงประชามติ เป็นกลุ่มที่ได้ประโยชน์โยตรง จากรัฐธรรมนูญ ซึ่งวาดกลัวหวาดระแวงรังเกียจนักการเมืองอย่างสูง ซึ่งมีคนไม่น้อย ได้แก่ฝ่ายข้าราชการระดับสูง

 

อีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มที่ต้องการเปลี่ยนแปลกติกานี้ไปในทิศทางที่ตนต้องการ อาจจะในนามของการเมืองใหม่ คือ สองกลุ่มนี้อาจจะรวมกัน ถ้าไม่มีการแก้ไขในอีกทิศทางหนึ่งก็อาจจะมีการแทรกเข้ามาปรับให้รัฐธรรมนูญให้เป็นไปอย่างที่ต้องการ อาจจะถึงขั้นเลิกระบบพรรคการเมือง นี่เกิดขึ้นในหมู่นักคิดสังคมไทย

 

อีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มที่ต้องการแก้ไขกติกาประชาธิปไตยให้เป็นไปตามหลักสากล นี่จะปะทุขึ้น และมีเสียงเรียกร้อง มีเหตุปัจจัยอะไรที่เป็นเหตุให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะประการแรก หลายคนรู้สึกว่ามีความไม่เป็นธรรมตามกติกา เช่น การยุบพรรคการเมือง ซึ่งไม่เป็นธรรมและมีคนไม่เห็นด้วย จริงๆ ไม่ใช่ตัวกติกาไม่เป็นธรรมอย่างเดียว แต่จะมีปัญหากับระบบพรรคการเมืองของเราด้วย เมื่อไม่กี่วันนี้เพิ่งมีการยุบพรรคการเมือง และมีผลล้มรัฐบาลไปด้วย กรณีหนึ่งคือกรณีที่พรรคชาติไทยกับพรรคมัชฌิมาธิปไตยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งโดยศาลฎีกายื่นเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ กับอีกกรณีคือพรรคพลังประชาชน เป็นกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ

ศาลรัฐธรรมนูญนี้ ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์ไปแล้ว เราละไว้ก่อน เอาเฉพาะประเด็นทีเป็นปัญหาของคดี ในทางกฎหมายการสั่งยุบพรรคการเมืองโดยแท้จริงแล้ว เกิดขึ้นจากการวินิจฉัยของ กกต. หรือจากศาลฎีกา เพราะ 2 องค์กรนี้จะบีบให้ศาลรัฐธรรมนูญนี้ต้องยุบพรรค กติกาแบบนี้สร้างปัญหาอย่างยิ่ง เพราะประการที่ 1 จะส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาลอย่างแน่นอน เพราะการยุบกพรรคการเมืองจะทำให้กรรมการบริการพรรคถูกตัดสิทธิไปด้วย และทำให้คณะรัฐมนตรีสิ้นสุดสภาพไปทันที ประการที่ 2 มีผลต่อพรรคการเมืองในแง่การสมัครรับเลือกตั้ง เพราะคนที่จะเป็น ส.ส. ต้องสังกัดพรรคก่อนอย่างน้อย 90 วัน และจะมีผลต่อการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นก่อนหน้านี้ เพราะไม่สามารถส่งคนลงเลือกตั้งได้ แน่นอนว่าตัวกติกาแบบนี้ จะส่งผลทำให้ตุลการเป็นปัจจัยในการชี้เป็นชี้ขาดทางการเมà¸
·à¸­à¸‡à¸¡à¸²à¸à¸‚ึ้น ถ้าหากก่อนวันเลือกตั้ง มีการเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง ท่านก็แน่ใจได้เลยว่าพรรคการเมืองนั้นจะถูกยุบพรรคการเมือง เพียงแต่เราไม่รู้ว่าจะยุบช้าหรือยุบเร็ว รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้เพิ่มอำนาจให้ฝ่ายตุลาการอย่างมากทั้งในแง่ของคดี และการที่บุคลากรในองค์การจุลาการเข้าไปมีบทบาทในการสรรหาบุคคลเข้าไปดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ

การเคารพนับถือหรือการยอมรับอำนาจตุลาการไม่ได้เกิดจากการที่มีกฎหมายไปกดคน หรือการบอกว่ามีการตัดสินแล้วให้มันจบไ ป แต่ต้องทำให้คนได้รับความรู้สึกว่า คนได้รับความเป็นธรรมจากการตัดสิน

 

ในทางวิชาการ มีการเสนอเรื่องตุลาการภิวัตน์ มีข้อเสนอให้ใช้กลไกหริอกระบวนการตุลาการเข้าแก้ปัญหาทางการเมือง ในทางวิชาการคือข้อเสนอที่ขัดกับหลักการ เพราะการแก้ปัญหาในการเมือง ต้องมีธงในการแก้ปัญหา การใช้กลไกตุลาการก็คือต้องมีธงอย่างหนึ่ง แต่การพิจารณาคดี มันมีธงไม่ได้ เพราะต้องพิจารณาข้อเท็จจริงของคดี เพราฉะนั้นการเสนอตุลาการภิวัตน์แบบนี้ ในช่วงเวลาหนึ่งใช้แล้วเรื่องมันยุติ มันจบ แต่ในด้านหนึ่งก็ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและองค์กรตุลาการอย่างมาก คดีที่ไปเกี่ยวพันกับการเมืองนั้นมีทั้งคนที่เห็นด้วยกับไม่เห็นด้วย แต่ความเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยถ้าเขาไม่ตั้งคำถามต่อความยุติธรรมหรือความเป็นธรรม มันไม่เป็นไร แต่ถ้าเมื่อไหร่เกิดเรื่องแบบนี้ขึ้น คือมีคนไม่เห็นด้วยเพราะขาดความยุติธรรม และคนที่เห็นด้à
¸§à¸¢à¸à¹‡à¹€à¸«à¹‡à¸™à¸”้วยเพราะสอดคล้องกับความต้องการทางการเมืองของตน ไม่ใช่เป็นไปตามเกณฑ์ทางกยุติธรรม แน่นอนหลายคนก็พูดว่า ก็เห็นคนเชื่อกันดี แต่เรื่องนี้ต้องทำแบบสอบถาม การสำรวจว่าเขาคิดอย่างไร

 

 

ในระยะถัดไปผมประเมินและทำนายว่า กลไกแบบนี้จะค่อยเสื่อมถอยลงและนำมาสู่ภาวะวิกฤตของระบบกฎหมาย เพราะโดยสภาพของอำนาจตุลาการ นั้นไม่เหมาะที่จะมาจัดการปัญหาแบบนั้น แน่นอนที่สุดถ้าอำนาจของกลไกตุลาการถอยไปใช้ไม่ได้ ก็จะกลับไปสู่การใช้กำลัง และทุกวันนี้ทหารไม่ใช่ไม่มีบทบาท เพียงแต่ว่าบทบาทของเขานั้นถอยห่างออกไปจากการใช้กำลังโดยตรง แต่เราปฏิเสธบทบาทของคนเหล่านี้ไม่ได้ในบริบทการเมืองไทย

 

เราอาจจะคาดหมายไม่ได้ การเมืองไทยจากนี้ไป ก็คงยังมีสภาพไม่แตกต่างจากเดิม ความสงบที่มีในช่วงเวลาหนึ่งก็เป็นความสงบก่อนเกิดคลื่นลม เพราะการเอาชนะกันทางการเมืองแบบที่คนชนะได้ไปทั้งหมด จะเป็นปัญหาทางการเมืองของเรา และกฎหมายจะยิ่งถูกกัดเซาะ และเมื่อวันนั้นเมื่อความเชื่อมั่นมันน้อยลงไปถึงระดับที่คนไม่ยอมรับหรือไม่เชื่อมั่น ผมไม่สามารถบอกได้ว่าเมื่อไหร่ หากยังติดยึดกับประเด็นของคุณทักษิณอยู่

 

000

ผาสุก พงษ์ไพจิตร

"กลุ่มคนที่เคยเรียกร้องประชาธิปไตยกลับถอยหลัง และอยากจะเปลี่ยนกติกา จากหนึ่งคนหนึ่งเสียง กลับมีข้อเสนอให้มีการแต่งตั้ง 70 เปอร์เซ็นต์ เลือกตั้ง 30 เปอร์เซ็นต์ การพยายามที่จะปนรับกติกาหรือย้อนหลังไปแบบนี้ เพื่อให้กลุ่มคนที่น้อยกว่านี้ได้มีบทบาทเข้ามาแทรกแซงทางการเมืองมากขึ้นได้นำไปสู่กระแสแรงต้านจากกลุ่มที่มีหลักการประชาธิปไตยอยู่กับความเสมอภาค"

 

"เราได้เห็นว่าพันธมิตรฯ ได้ให้ภาพของขบวนการของเขาเป็นสงคราม ใช้คำว่าสงคราม การ์ดมีการติดอาวุธและมีการดำเนินการเหมือนการรบ เป็นประสบการณ์ค่อนข้างใหม่ และที่ผ่านมา ความรุนแรงได้ถูกนำมาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการประท้วงบนท้องถนนอย่างที่ไมเคยปรากฏมาก่อน มันได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการเมืองขณะนี้ไปแล้ว"

 

"เราจะมีสันติสุขก็จะเกิดขึ้นได้โดยการเปลี่ยนทัศนคติของฝ่ายตรงข้ามหลักการเสมอภาค อยู่กับหลักการประชาธิปไตย ไม่ใช่อยู่บนหลักการที่ว่าฝ่ายอภิชนต้องเป็นใหญ่"

 

ดิฉันจะเสริมต่อจากอาจารย์วรเจตน์ แต่ก็มีประเด็นที่คิดต่างออกไปดิฉันคิดว่าที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง 3-4 ประเด็น ซึ่งจะทำให้เรามาฉุกคิดว่าการเมืองไทยจากนี้ต้อไปจะมีการหักเหอย่างมาก ซึ่งเราต้องคิดมากกว่าที่เป็นอยู่

 

ประการแรก คือระดับของความสนใจและการเข้าร่วมในการเมืองของสังคมไทยได้มากขึ้นจนสังเกตได้ และประเด็นนี้เกิดขึ้นจากความต่างของสังคม ซึ่งมีลักษณะของความแตกแยกอยู่ด้วย แต่ได้ถูกบดบังไปจากการพัฒนาเศรษฐกิจที่เติบโตขึ้นมาอย่างสูง และเกิดขึ้นในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา และในช่วงเศรษฐกิจบูมในสมัยคุณชาติชาย ความต่าง 3 เรื่องที่สำคัญที่สั่งสมมากคือ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ คนจนที่สุด 20 เปอร์เซ็นต์ ของประเทศมีสัดส่วนรายได้ไม่ถึง 5 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ในขณะที่คนที่รวยที่สุดมีส่วนแบ่งมากกว่าครึ่ง ทำให้เรามีลักษณะใกล้เคียงกับละตินอเมริกามากขึ้นทุกวัน

 

ประการที่ที่ 2 การที่พัฒนาของชาวเมืองพัฒนาไปแบบแตกแยกกับคนส่วนใหญ่ของประเทศ แล้วก็คนเมืองกลุ่มน้อยที่ได้ร่ำรวยขึ้นจากกระบวนการโลกาภิวัตน์ก็ทำให้ชาวชนบทถูกมองว่าเป็นพวกล้าหลังเป็นลูกตุ้มถ่วงความเจริญ ถูกดูหมิ่นดูแคลนว่าเป็นคนที่คิดไม่เป็น ออกเสียงเลือกตั้งทีไรก็มีการซื้อเสียง และความต่างประการสำคัญประการที่ 3 คือ ความเห็นต่างว่าประชาธิปไตยควรจะเป็นอย่างไร หรือกระบวนการที่จะนำไปสู่รัฐบาลที่จะเข้ามาบบริหารประเทศควรจะเป็นอย่างไร เราพบว่าในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศที่ได้ผ่านกระบวนการเลือกตั้งทั้งระดับท้องถิ่น และระดับชาติ มีการจัดสรรทรัพยากรจากส่วนกลาง มีการเสียภาษี จึงเกิดการซาบซึ้งในระบบของรัฐสภาประชาธิปไตย กลุ่มคนที่เคยเรียกร้องประชาธิปไตยกลับถอยหลัง และอยากจะเปลี่ยนกติกา จà
¸²à¸à¸«à¸™à¸¶à¹ˆà¸‡à¸„นหนึ่งเสียง กลับมีข้อเสนอให้มีการแต่งตั้ง 70 เปอร์เซ็นต์ เลือกตั้ง 30 เปอร์เซ็นต์ การพยายามที่จะปนรับกติกาหรือย้อนหลังไปแบบนี้ เพื่อให้กลุ่มคนที่น้อยกว่านี้ได้มีบทบาทเข้ามาแทรกแซงทางการเมืองมากขึ้นได้นำไปสู่กระแสแรงต้านจากกลุ่มที่มีหลักการประชาธิปไตยอยู่กับความเสมอภาค

 

เราจึงได้เห็นกระบวนการต่างๆ เกิดขึ้น ขณะที่การเคลื่อนไหวของชนชั้นกลางไทยในระยะ 30 ปีที่ผ่าน กลุ่มเสื้อแดงที่เราได้เห็นทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด และของใหม่ ๆที่จะเกิดขึ้นคือระดับของการอภิปรายถกเถียง วิธีคิดได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงเช่นกัน เราจะได้ฟังชาวบ้านร้านถิ่นเข้ามา แลกเปลี่ยนทางกสารเมืองแบบถึงพริกถึงขิงอย่างทีไม่เคยมีมาก่อน และอดคิดไม่ได้ว่าวาทกรรมที่ว่าด้วยความสมานฉันท์ ซึ่งเป็นวาทกรรมกระแสหลักตกกระแสไปเลย ในขณะที่คนจำนวนมากก็พยายามจะปกก้องผลประโยชน์ของกลุ่ม อย่างเข้มข้น ไม่ว่าจะเป็นอภิปราย ประท้วง การใช้วิทยุชุมชน

 

ข้อสังเกตประการที่ 3 คือ ระดับความรุนแรงได้เพิ่มขึ้นมากๆ ดิฉันไม่สนใจว่าใครเป็นผู้กระทำความรุนแรงใครเริ่มก่อน แต่ในประสบการณ์ทางการเมืองตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นต้นมา ความรุนแรงทางการเมืองเกิดจากการกระทำของภาครัฐมาโดยตลอดไม่ได้มาจากฟากที่เป็นผู้ประท้วง อาจจะมีการปะทะกันบ้าง แต่ไม่เคยมีความรุนแรงก่อตัวขึ้นจากผู้ประท้วง แต่ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตาม เราได้เห็นว่าพันธมิตรฯ ได้ให้ภาพของขบวนการของเขาเป็นสงคราม ใช้คำว่าสงคราม การ์ดมีการติดอาวุธและมีการดำเนินการเหมือนการรบ เป็นประสบการณ์ค่อนข้างใหม่ และที่ผ่านมา ความรุนแรงได้ถูกนำมาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการประท้วงบนท้องถนนอย่างที่ไมเคยปรากฏมาก่อน มันได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการเมืองขณะนี้ไปแล้ว

 

ข้อสังเกตประการที่ 4 ความเป็นหนึ่งเดียวของรัฐหายไป เราได้เห็นว่าฝ่ายความมั่นคงทั้งทหารและตำรวจ รัฐบาลและยังได้เห็นบทบาทของกระบวนการยุติธรรมที่ดำเนินไปเป็นคนละทางหรือคนละฝ่ายกับฝ่ายบริหาร ปรากฏการณ์นี้เป็นของใหม่อีกเรื่องหนึ่งที่ในวิกฤตการเมืองที่ผ่านๆ มาเราไม่เห็นความแตกแยกของสถาบันมากเท่านี้

 

โดยสรุป ขณะนี้เราอยู่ในภาวะที่คนส่วนใหญ่ของประเทศยังต้องการหลักการ 1 คน 1 เสียง และต้องการมีพื้นที่ทางการเมืองแน่นอนชัดเจน แต่คนกลุ่มน้อย อภิชนกลับอยากจะทวนเข็มนาฬิกา และต้องการให้บทบาทของประชาชนลดลง และต้องการให้เกิดช่องว่างในกลุ่มอภิชนเข้ามาแทรกแซงทางการเมืองได้ และเป็นรากฐานของความโกลาหลทางการเมืองและยังมีอยู่ต่อไป ตราบเท่าที่คนกลุ่มน้อยและอภิชนไม่ยอมรับความจริงว่าการเมืองไทยขณะนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วอย่างสิ้นเชิง และเราจะมีสันติสุขก็จะเกิดขึ้นได้โดยการเปลี่ยนทัศนคติของฝ่ายตรงข้ามหลักการเสมอภาค อยู่กับหลักการประชาธิปไตย ไม่ใช่อยู่บนหลักการที่ว่าฝ่ายอภิชนต้องเป็นใหญ่

 

000

ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์

"หลังรัฐบาลใหม่เราจะได้ระบบการเมืองเก่า หลังรัฐธรรมนูญ 2550 เราได้ระบบการเมืองก่อนทักษิณ ไม่มีรูปไหนเป็นสัญลักษณ์ได้ชัดเท่าภาพคุณเนวินและคุณอภิสิทธิ์กอดกัน ซึ่งเป็นการเมืองเก่าที่เปลี่ยนขั้ว สลับไปมา แลกเปลี่ยนผลประโยชน์กันฟอร์มรัฐบาล"

 

 "เราต้องหัดเรียนรู้และพัฒนาตามครรลอง ไม่ใช่ทำให้มันสูญพันธุ์หรือมีกติกาที่ต่อต้านนักการเมือง พรรคการเมือง รัฐธรรมนูญ 2550 อยู่บนสมมติฐานว่านักการเมืองชั่ว อาจเป็นอย่างนั้นจริง แต่คำตอบย่อมไม่ใช่การห้ามไม่ให้มีนักการเมืองหรือพรรคการเมือง"

 

"สังคมไทยเป็นสังคมแนวตั้ง สังคมชนชั้น อภิชนตรงกลางเขามีแรงถีบแรงส่งให้สามารถขึ้นสูงขึ้นได้ ถ้าทักษิณอยู่ต่อไปเรื่อยๆ สังคมจะอยู่ในแนวนอนมากขึ้น และจะขัดแย้งกับผลประโยชน์ของพวกเขา จึงน่าจะเป็นคำตอบได้ว่ามาถึงวันนี้ไม่สามารถบอกว่าพันธมิตรฯ ถูกได้อีกแล้ว แต่ก็ยังมีคนให้ท้าย"

 

ยิ่งวิกฤติการเมืองยิ่งนาน ยิ่งมีความชัดเจนมากขึ้น ไม่ต้องเป็นนักวิเคราะห์ก็จะมีภาพว่าอะไรเป็นอะไร ซึ่งนี่เป็นผลพวงที่หลายฝ่ายไม่ได้ตั้งใจให้ออกมาเป็นเช่นนี้ แต่ยิ่งนานทุกฝ่ายก็ยิ่งต้องออกแรงเยอะ ต้องใช้ทรัพยากรและออกตัวมากขึ้น ในวันนี้มี 4 ประเด็นที่จะนำเสนอ คือ 1. ตามหัวข้อที่ตั้งไว้ว่า การเมืองสยามประเทศ(ไทย)-หลังรัฐบาลใหม่ และหลังรัฐธรรมนูญ 2550 จะเป็นอย่างไรนั้น หลังรัฐบาลใหม่เราจะได้ระบบการเมืองเก่า หลังรัฐธรรมนูญ 2550 เราได้ระบบการเมืองก่อนทักษิณ ไม่มีรูปไหนเป็นสัญลักษณ์ได้ชัดเท่าภาพคุณเนวินและคุณอภิสิทธิ์กอดกัน ซึ่งเป็นการเมืองเก่าที่เปลี่ยนขั้ว สลับไปมา แลกเปลี่ยนผลประโยชน์กันฟอร์มรัฐบาล

 

พูดให้ละเอียดขึ้น หลังรัฐธรรมนูญ 2550 ระบบพรรคการเมือง สถาบันหลักในระบอบประชาธิปไตยจะอ่อนแออย่างเห็นได้ชัด พรรคการเมืองยิ่งจะสูงพันธุ์ไปทุกวัน แม้โดยส่วนตัวจะไม่ได้นิยมชมชอบนักการเมือง พรรคการเมือง แต่เราต้องหัดเรียนรู้และพัฒนาตามครรลอง ไม่ใช่ทำให้มันสูญพันธุ์หรือมีกติกาที่ต่อต้านนักการเมือง พรรคการเมือง รัฐธรรมนูญ 2550 อยู่บนสมมติฐานว่านักการเมืองชั่ว อาจเป็นอย่างนั้นจริง แต่คำตอบย่อมไม่ใช่การห้ามไม่ให้มีนักการเมืองหรือพรรคการเมือง ระบบพรรคตอนนี้อ่อนและคลอนแคลนมาก ดูจากการให้เอกสิทธิ์ ส.ส. ก็ต่างกับรัฐธรรมนูญ 2540 โดยสิ้นเชิง สมัยก่อน ส.ส.ต้องเอาตามพรรค ไม่เช่นนั้นพรรคขับออกได้ ซึ่งมันมีตรรกะของมันอยู่เพื่อให้สนองตอบ สะท้อนเจตนารมณ์ของผู้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง การยุบพรรคใหญ่ๆ เราก็ได้เห็นมาแล้ว ขณะที่อีกà¸
žà¸£à¸£à¸„หนึ่งไม่ได้รับผลกระทบเลย แม้จะโดนกล่าวหาว่า บิดา ส.ส.ท่านหนึ่งให้ตั๋วหนังคนดูฟรี รัฐธรรมนูญนี้ทำให้เกิดรัฐบาลผสมเป็นระบบเก่า ขอแค่ปริ่มเกินครึ่งนิดหน่อย แต่ก็จะเป็นรัฐบาลที่อ่อนแอ ฝ่ายบริหารจะอ่อนมาก ขณะที่สถาบันอำนาจเก่าแข็งแกร่งขึ้น ได้อำนาจคืนมาและเพิ่มขึ้นไปอีก ไม่ว่ากองทัพ ตุลาการ สถาบันพระมหากษัตริย์

 

ฉะนั้น ประเด็นแรก หลังรัฐบาลใหม่จะเป็นระบบเก่า พรรคการเมืองรวมถึงฝ่ายบริหารอ่อนแอลง ตรงข้ามกับรัฐธรรมนูญ 2540 เป็นลักษณะการตอบโต้ช่วงรัฐบาลทักษิณ

 

ประเด็นที่สอง เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว คำถามต่อไปคือจะยั่งยืนไหม จะปฏิเสธสิ่งที่เกิดขึ้นมา 8-10 ปีได้ไหม สามปีที่ผ่านมาเคยคิดในใจว่าเขาจะทำได้จริงหรือ ถึงวันนี้คิดว่าเขาทำได้และกำลังทำอยู่ มาถึงตอนนี้ถามตัวเองใหม่ว่าแล้วจะไปรอดไหม คำตอบคิดว่าไปไม่รอด การเอาระบบการเมืองกลับไปในอดีต ไม่ใช่แค่ก่อนทักษิณอย่างเดียว แต่น่าจะถอยกลับไปไกลเท่าที่จะสามารถถอยไปในอดีตได้ จะเห็นได้ว่าเงื่อนไขข้อเสนอของพันธมิตรฯ ไม่ได้เปลี่ยนแปลง คือต้องการรัฐบาลเฉพาะกาล นอกรัฐธรรมนูญ เป้าหมายหลักของเขาคือ ต้องการแก้กฎกติกา แก้รัฐธรรมนูญ เพื่อปฏิเสธระบบหนึ่งคนหนึ่งเสียง ตรรกะมันก็ง่ายๆ เพราะถ้าหนึ่งคนหนึ่งเสียง คนกลุ่มน้อยจะแพ้อยู่วันยันค่ำ จึงต้องหาวิธีอื่นอย่างเช่น การแต่งตั้ง มีการเปลี่ยนกติกาเพื่อแต่งตั้งมาครึ่งหนึ่งแล้ว แต่à
¸à¹‡à¸¢à¸±à¸‡à¹„ม่พอ ต้องการให้มีการแต่งตั้ง สรรหามากที่สุดเท่าที่จะทำได้

 

ถ้าเป็นเมื่อ 20-30 ปีที่แล้วคงรอด แต่ปัจจุบันนี้ยังวาดภาพไม่ออก การเดินไปเช่นนั้นน่าจะทำให้เกิดความขัดแย้งตึงเครียดใต้น้ำมากขึ้นๆ แล้วในที่สุดแล้วจะไปไม่รอด สาเหตุที่ไปไม่รอด เพราะ 2 ประการใหญ่ คือ 1) ความตื่นตัวของคนทั่วไป โดยเฉพาะในชนบทสูงอย่างไม่เคยมีมาก่อน เขามีความคิดมากกว่าที่คนให้ค่าเขา 2 ทศวรรษที่ผ่านมา การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยขยายตัวมากอย่างรวดเร็ว และการกระจุกตัวก็สูงขึ้น โดยเราได้ละเลยตรงนี้มาโดยตลอดอย่างที่อาจารย์ผาสุกได้กล่าวไว้ 2) ตอนนี้เป็นช่วงอัสดงของรัชสมัยที่ดำรงอยู่มาอย่างยาวนาน ฝังรากลึก และประสบความสำเร็จสูงสุด ช่วงเปลี่ยนผ่านตรงนี้ถึงอย่างไรก็เป็นโจทย์ใหญ่ของสังคมไทยอยู่ดี

 

ประเด็นต่อมา เรื่องระบบการเมือง ตัวแสดงทางการเมือง ขณะนี้ประชาธิปัตย์กำลังเป็นต่อในการจัดตั้งรัฐบาล ลึกๆ แล้วเขาไม่สมควรจัดตั้ง ที่พูดเช่นนี้ไม่ใช่ไม่ชอบ ถ้าดูความสามารถทางด้านการคลัง การต่างประเทศ เขามีบุคลากรที่ตอบสนองตรงนี้ได้ดีกว่าด้วยซ้ำ เพราะคู่ต่อสู้ถูกห้ามเล่นการเมืองไปแล้วเป็นจำนวนมาก กติกาก็เข้าข้างตัวเอง กรรมการก็ดูเหมือนเข้าข้างตัวเอง คู่ต่อสู้ก็ถูกมัดมือมัดเท้า ถ้าไม่ได้จัดตั้งรัฐบาลก็ไม่รู้จะเอาหน้าไปไว้ไหนแล้ว เหตุผล 3 ประการที่เป็นต่อสำหรับประชาธิปัตย์ คือ 1. มีความกดดันจากกองทัพคอยหนุนช่วย กองทัพอุ้มแต่อุ้มเข้าประตูหลัง และมีคนคอยเปิดประตู ปูทางไว้ให้โดยตลอด 2.ระบบตุลาการดูเหมือนมีการวีโต้ ไม่ใช่ตุลาการภิวัตน์หรือยึดอำนาจ ถ้ายึดอำนาจต้องเอาคนที่ตนอยากให้เป็นรัฐบาลมาเป็นได้เลย แต
่ตอนนี้ทำได้แค่ปฏิเสธคนไม่อยากให้เป็นเท่านั้น 3. การสร้างเงื่อนไขกรรโชกของพันธมิตรฯ ถ้าเป็นรัฐบาลเดิมอีกก็จะทำอย่างเดิมอีก เราจึงอยู่ในภาวะจำยอม การไม่มีรัฐบาลที่มีเสถียรภาพยิ่งทำให้ประเทศเสียหายหนัก โดยเฉพาะกรณีอาเซียน การต่างประเทศไทยไม่เคยตกต่ำถึงขนาดนี้ เมื่อก่อนแม้การเมืองมีเสียหลักบ้าง แต่ก็มีความแยบยลสูงในการดำเนินนโยบายการต่างประเทศแต่ตอนนี้ตกต่ำมาก ทำให้หลายคนจำยอม คิดว่าให้ประชาธิปัตย์ลองเป็นรัฐบาลดูก็ได้ แม้ว่าเขาจะไม่มีวิญญาณประชาธิปไตย เพราะเคยมีการเรียกร้องมาตรา7 คว่ำบาตรการเลือกตั้ง มีการเอื้อพันธมิตรฯ มีส.ส.ตัวเองเป็นแกนนำ การสมรู้ร่วมคิดกันเหมือนประชาธิปัตย์อยู่ในสภา พันธมิตรฯ อยู่นอกสภา แม้ว่าเขาจะติดลบจริยธรรมเอามากๆ จากพฤติกรรมที่ผ่านมา แต่ก็อาจต้องจำยอมให้เขาได้เป็นรัฐบาà¸
¥ จะได้ผ่านตรงนี้ไปได้ เขาอาจจะเจอเสื้อแดงประท้วง ซึ่งก็น่าเป็นห่วงว่าเสื้อแดงอาจจะโดนปราบ แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่ากลัวสำหรับประชาธิปัตย์คือเสื้อเหลืองต่างหาก เขาอาจจะตีกันเอง เพราะพันธมิตรฯ มีธงที่ชัดเขน เมื่อประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลแล้วจุดร่วมของพวกเขาอาจจะเริ่มแตกต่างกัน พันธมิตรฯ ต้องการออกนอกกติการะบบเดิม อีกทั้งแนวนโยบายประชาธิปัตย์จะมีลักษณะสมัยใหม่มากกว่าพันธมิตรฯ อาจมีการขัดแย้งกันได้ และอาจจะเหมือนกับกรรมตามสนอง

 

ประเด็นสุดท้าย พันธมิตรฯเดินมาไกลมาก ไม่นึกว่าจะมาไกลได้ขนาดนี้ จากการประท้วงการคอรัปชั่นธรรมดาๆ ทักษิณเป็นคนขี้โกง มีการทุจริต มีผลประโยชน์ทับซ้อนชัดเจน แต่ขณะเดียวกันขบวนการของเสื้อเหลืองและผู้หนุนหลังทั้งหลายจะมาได้ไกลขนาดนี้ วันที่เป็นจุดเปลี่ยนคือ วันที่คุณทักษิณกลับมาเมืองไทยเมื่อ 28 ก.พ.51 ปกติคนที่โดนยึดอำนาจต้องหนีไปเมืองนอก อาจไปเสียชีวิตที่เมืองนอก แต่เมื่อคู่ต่อสู้เห็นกลับมาอย่างนี้จึงต้องเอาให้ถึงที่สุด เรียกได้ว่า ประชาธิปไตยตอนนี้เป็นประชาธิปไตยในการอารักขาของกลุ่มอำนาจเก่า มีตุลาการคอยวีโต้ มีกองทัพอุ้มชู และพันธมิตรฯ คอยกำหนดวาระ สร้างเงื่อนไข

 

ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือ ถ้าเราคิดว่าเสื้อเหลืองเป็นหัวหอกของฝ่ายขวา เสื้อแดงก็ตีเสียว่าเป็นฝ่ายซ้าย เพราะตอบสนองต่อคนจน ทำไมอภิชน คนชั้นกลางถึงมาหนุนพันธมิตรฯ กันเกือบหมด ครูบาอาจารย์ อธิการทั้งหลายก็เป็นในแนวทางนี้ โจทย์นี้คิดมาหลายเดือน และได้งานเขียนของนักวิชาการ 2 ท่านที่ช่วยฉายแสงให้ความสว่างคือ บทความของอาจารย์ เบน แอนเดอร์สัน (Ben Anderson) ปี 1977 ซึ่งพูดถึงภาวะของการลงแดงทางการเมือง เรื่องพลวัตรของชนชั้น อีกคนหนึ่งคือ อาจารย์เดวิด ไวแอด (David Wyatt) เขาถามคำถามหนึ่งที่สอดคล้องกับความสงสัยเรื่องนี้ว่า ทำไมคนที่ประท้วงเมื่อ 14 ตุลาฯ มาหนุนขวาพิฆาตซ้ายใน 6 ตุลาฯ คำตอบเบื้องต้นคือ สังคมไทยเป็นสังคมแนวตั้ง สังคมชนชั้น อภิชนตรงกลางเขามีแรงถีบแรงส่งให้สามารถขึ้นสูงขึ้นได้ ถ้าทักษิณอยู่ต่อไปเรื่อยๆ สังคมจะอยู่ในแนวนอà¸
™à¸¡à¸²à¸à¸‚ึ้น และจะขัดแย้งกับผลประโยชน์ของพวกเขา จึงน่าจะเป็นคำตอบได้ว่ามาถึงวันนี้ไม่สามารถบอกว่าพันธมิตรฯ ถูกได้อีกแล้ว แต่ก็ยังมีคนให้ท้าย ส่วนการใช้ความรุนแรง ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาพบว่าโดยมากมาจากรัฐ แต่ช่วง 6 ตุลาฯ ความรุนแรงก็มีมาจากคนไม่ใช่รัฐ เช่น นวพล ตอนนี้พันธมิตรฯ ก็กำลังไปในแนวนั้น มีอาจารย์ท่านหนึ่งบอกว่าเขาวิจารณ์ทักษิณก็วิจารณ์ไป ทักษิณก็วิจารณ์กลับ หรืออาจให้สรรพากรมาตรวจสอบบัญชี ให้มีการตั้งคณะกรรมการสอบในมหาวิทยาลัย แต่ไม่เคยรู้สึกอันตรายเหมือนการวิจารณ์พันธมิตรฯ อย่างไรก็ตาม 6 ตุลาฯ กับปัจจุบันต่างกันอย่างสิ้นเชิงในเรื่องการตื่นตัวในคนทั่วไป และตอนนั้นคนที่เป็นเหยื่อคือคนกลุ่มน้อย โดยมีคนกลุ่มใหญ่เป็นคนกระทำ แต่ตอนนี้ตรงกันข้าม คนกลุ่มน้อยเป็นคนกระทำ และคนกลุ่มใหญ่เป็นเหยื่อ

 

สรุปว่า ในยุคโลกาภิวัตน์ที่ประชาธิปไตยเป็นมาตรฐานสากล เป็นเกณฑ์อันใหม่ การยึดอำนาจมีความแยบยลขึ้น ไม่สามารถทำอย่างโจ๋งครึ่มได้อย่างสมัยก่อน วิธีที่ดีที่สุดคือ ปฏิเสธคนที่เราไม่ชอบ และดันคนที่เราชอบไปให้ได้มากที่สุด ไม่ต้องใช้รถถัง แค่กดดัน มีการวีโต้ มีการสร้างเงื่อนไขขู่กรรโชกไป แต่อย่างไรก็คิดว่าแนวทางนี้ไปไม่รอด เพราะมีพลังประวัติศาสตร์ขับเคลื่อนอยู่ จะถอยกลับไปอีกคนคงไม่ยอมรับ

 

โจทย์ของประเทศไทยคือแล้วเราจะหาทางออกอย่างไร คงต้องเริ่มจากการยอมรับซึ่งกันและกัน ถ้าเราลองคิดว่าเราอยู่หลังพันธมิตรฯ เราก็ต้องกลัวว่าถ้าปล่อยให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาการของสังคม การเมือง เศรษฐกิจไป เขาจะสูญเสียผลประโยชน์ อำนาจและอภิสิทธิ์ไป แต่ถ้าเราลองพยายามโน้มน้าวว่าเสียน้อยเสียยาก ยังไงก็ต้องปรับไปตามยุคสมัย และก้อนเค้กเศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่อง การแบ่งกันบ้างก็ไม่ได้เสียมาก แต่เข้าใจว่าเขาต้องกลัว เพราะมันเป็นลักษณะของการไหล ต้องยอมไปเรื่อยๆ แล้วจะต้องยอมไปถึงจุดไหน มันเป็นภาวะลักลั่นที่ไม่มีใครเจตนาให้เกิด หลังจากนี้ต้องมีการปรับตัวกันเกิดขึ้น เราต้องยอมรับกันและกัน จะปฏิเสธยุคสมัยมันยาก แต่เราจะพาวิธีโน้มน้าวแบบใดที่ไม่มีอคติ เป็นปรปักษ์อะไร แต่ตระหนักการมีอยู่ซึ่งกันและกัน
 ทั้งกลุ่มอำนาจเก่าที่ยื้อและดึงกลับไปกับอนาคตที่เราต้องเดินต่อไป ถ้าเราไม่สามารถหาทางตรงกลางออกมาได้สังคมเราจะสั่นสะเทือน ลำบากมากๆ และสังคมเราจะอยู่ในภาวะที่อาจารย์เบนเคยว่าไว้อีกครั้งหนึ่ง คือ ลงแดง

 

000

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

"คุณทักษิณ ชินวัตร กับพรรคพวก จะหมดอนาคตทางการเมือง ปิดฉากลงตาม "โผ" ของ "พลังสีเหลือง" และ "สีเขียว" ผนวกกับ "ตุลาการธิปไตย" ตาม "ทฤษฎีอัลคาโปน" ที่ต้องอยู่ต่างประเทศหรือไม่ก็ติดคุกไปจน "หัวโต" ไประยะเวลาหนึ่ง แต่ในขณะเดียวกันก็ "อาจสามารถ" กลับมาได้ด้วย "ทฤษฎีประชานิยม" และ "การอภัยโทษ" ทีเป็นไปตาม "ทฤษฎีเอวิตา - เปรอง" และการได้รับความเห็นอกเห็นใจจาก "รากหญ้า" และ "ประชานิยม"

 

"ในท้ายที่สุด "การเมืองสยามประเทศ" ก็ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงชะตามกรรมอง "การนองเลือด" หรือ "สงครามกลางเมือง" หรือ "การจลาจล" หรือที่เรียกในภาษาโบราณว่า "กาลียุค"

 

ในรายการเสวนาทางวิชาการของเราในชุดที่เรียกว่า "การเมืองสยามประเทศ (ไทย): หลัง???" หรือ Post นี้เป็นความพยายามที่จะ "มองข้ามช็อต" จากปัจจุบันไปสู่อนาคต เราได้จัดกันมาหลายครั้งหลายคราตั้งแต่ "หลังทักษิณ 1" เมื่อ 3 มีนาคม 2549 จนกระทั่งเกิดรัฐประหาร 19 กันยายนปีเดียวกันนั้น เรื่อยมาจนมีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ฉบับที่ 18 พ.ศ. 2550 ที่มีการลงประชามติเมื่อ 19 สิงหาคม 2550 ต่อมาอีกจนถึงกี่เลือกตั้งทั่วไป 23 ธันวา 2550 ซึ่งก็ได้นายสมัคร สุนทรเวช "เหล้าเก่าในขวดใหม่" มาเป็นนายกรัฐมนตรี เราคงมีรายการอภิปรายตามปกติของเรา เช่น "การเมืองสยามประเทศ (ไทย) หลังสมัคร 2" เมื่อ 3 สิงหาคม 2551 จนกระทั่งถึงครั้งนี้ในวันที่ 14 ธันวาคม 2551 รวมแล้วเกือบ 3 ปีเต็ม ในทางวิชาการเราได้วิเคราะห์ผิดวิเคราะห์ถูก ซึ่งในครั้งนี้ ก็คง "ผิดๆ ถูกๆ " อีกเช่นกัน

 

กล่าวโดยย่อ การเมืองของสยามประเทศ หลังกระบวนการ "ตุลาการธิปไตย" ตัดสินยุบพรรคการเมือง 3 พรรค (พลังประชาชน ติไทย มัชฌิมาธิปไตย เมื่อ 2 ธันวาคม 2551 และมีผลต่อเรื่องด้วยการถอนกำลัง "ยึดครอง" สนามบินหนองงูเห่า กับสนามบินดอนเมือง โดย "ม็อบธิปไตย" ของพันธมิตรฯ เมื่อ 3 ธันวา ตามลำดับแล้วนั้น ดูเหมือนว่า "การเมืองสยามประเทศ" จะ "เข้าร่องเข้ารอย" พร้อมด้วยความโล่งอกโล่งใจของคนกลุ่มหนึ่ง

 

กล่าวโดยสรุป ประการแรก รี่เป็นการปูทางกลับไปสู่ "การเมืองเก่า" หรือ "วังน้ำวน" ของ "คณาธิปไตย" อันเป็นการปกครอง "ของอภิชน" โดยอภิชน" และ "เพื่ออภิชน"

 

สอง ถ้าไม่มีอะไรพลิกล็อค พรรคประชาธิปัตย์จะจัดตั้งรัฐบาลโดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรีได้

 

สาม รัฐบาลผสมในสูตรใหม่ ที่ได้เชื้อใหม่เติมพลังจากกลุ่มของนายเนวิน ชิดชอบ จะอยู่บริหารบ้านมเองไปได้อย่างไม่ราบรื่น ชั่วระยะเวลาสั้นๆ

 

สี่ นี่เป็นการพักรบและเป็นการเกี๊ะเซี้ย ระหว่างเงินเก่า กับเงินใหม่ ชั่วคราวในระยะเวลาสั้นๆ

 

ห้า คุณทักษิณ ชินวัตร กับพรรคพวก จะหมดอนาคตทางการเมือง ปิดฉากลงตาม "โผ" ของ "พลังสีเหลือง" และ "สีเขียว" ผนวกกับ "ตุลาการธิปไตย" ตาม "ทฤษฎีอัลคาโปน" ที่ต้องอยู่ต่างประเทศหรือไม่ก็ติดคุกไปจน "หัวโต" ไประยะเวลาหนึ่ง แต่ในขณะเดียวกันก็ "อาจสามารถ" กลับมาได้ด้วย "ทฤษฎีประชานิยม" และ "การอภัยโทษ" ทีเป็นไปตาม "ทฤษฎีเอวิตา - เปรอง" และการได้รับความเห็นอกเห็นใจจาก "รากหญ้า" และ "ประชานิยม" ในท่วงทำนองและเนื้อร้อง "Don't cry for me Thailand"

 

หก ในท้ายที่สุด "การเมืองสยามประเทศ" ก็ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงชะตามกรรมอง "การนองเลือด" หรือ "สงครามกลางเมือง" หรือ "การจลาจล" หรือที่เรียกในภาษาโบราณว่า "กาลียุค" ที่พระอิศวรศิวะเทพ จะทรงร่ายในบทขิงการทำลายล้าง ที่เทพทั้งปวงรวมทั้งพระนารายณ์วิษณุเจ้า" ก็จะถูกทำลายล้างลงด้วย เพื่อที่ "ท้าวมหาพรหม" จะได้สร้าง "ยุคสมัยใหม่" ที่รุ่งเรืองและสดใสมากกว่า

 

นี่เป็นการมองในแง่ "ลบ" และ "มองโลกในแง่ร้าย" แต่เราจะมีทางออกได้อย่างไร ที่จะเกิด "ความสมานฉันท์" "ความรักสามัคคี" และ "สันติสุข" ได้เล่า ทำอย่างไรเราจะหลีกเลี่ยงจากการที่ต้องได้เห็นสิ่งที่เคยได้เห็นมาก่อน หรือจะไม่ได้เห็นสิ่งที่เคยได้เห็นมาตลอดอายุขัย

 

ต่อไปนี้ คือ ข้อเสนอเพื่อหาทางออกให้กับสังคมและประเทศชาติของเรา คือ

 

หนึ่ง จัดต้องทำให้ประเทศชาติบ้านเมืองของเรา ยอมรับใน "ความแตกต่าง" ที่ "ไม่แตกแยก" ไม่ว่าเธอ เขา หรือใครก็ตาม ที่เป็นประชาชนพลเมืองของบ้านนี้เมืองนี้ ไม่วาจะมีเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา วรรณะ ผิวพรรณ หรือชนชั้นใดก็ตามอยู่ร่วมกันได้ ใน "สยามประเทศ" ใน Siam ที่ "เมืองแม่" มี "จิตใจกว้างขวาง" ไม่ใช่ประเทศไทย หรือไทยแลนด์ที่มีจิตใจคับแคบ

 

สอง จักต้องแก้ไข "รัฐธรรมนูญ" ให้เป็นประชาธิปไตย ยกเลิกฉบับหรือมาตราที่เป็น "อำมาตยาเสนาธิปไตย" ที่ร่างขึ้นมาโดย "นเติบริกรและรัฐศาสตร์บริการ" ที่เพียงรักษาไว้ซึ่งระบอบ "คณาธิปไตย" อันเป็นการปกครอง "ของอภิชน โดยอภิชน และเพื่ออภิชน ไม่เอาและไม่ต้องมี ส.ว. ไม่ว่าโดย party list หรือโดยการสรรหา เราต้องไม่เอากฎหมายยุบพรรคการเมือง (ให้มีแต่เพียงยุบคน ยุบนักการเมือง) เราต้องไม่เอา 30/70 หรือแม้แต่ถอยหลังกลับไป 50/50 แต่ต้องยืนยันในหลักสากลของ one person one vote

 

สาม จักต้องทำให้ "อำนาจตุลการ" กลับไปสู่ศักดิ์ศรีและความศักดิ์สิทธิของ "ความยุติธรรม" ของ Rule of Law ไม่ให้ศาลถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองในลักษณะของ "ตุลาการธิปไตย" และเราต้องไม่เอาส่วนเกินคือ "ศาลรัฐธรรมนูญ"

 

สี่ จักต้องแก้ไข ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ให้สถาบันกษัตริย์ของสยามประเทศเป็นสถาบันสูงสุด ที่ทรงไว้ซึ่ง "พระคุณ" อย่างเช่นในนานาอารยะประเทศ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรป) และไม่ถูกนำไป "ใช้" ไป "อ้าง" แบะไป "อิง" ในการต่อสู้ทำลายล้างทางการเมืองอย่างที่เคยเป็นมา และกำลังเป็นอยู่ในขณะนี้

 

 

 

 

 

 

โดย : ประชาไท   วันที่ : 15/12/2551

 

 

http://www.prachatai.com/05web/th/home/14869 
______________
Dr. Justin McDaniel
Dept. of Religious Studies
3046 INTN
University of California, Riverside
Riverside, CA 92521
951-827-4530
justinm at ucr.edu



More information about the Tlc mailing list