<br><br>---------- Forwarded message ----------<span class="gmail_quote"><br></span>
<p style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt"><font size="5"><font face="Angsana New"><span lang="TH">จาก นิตยสาร </span>Way<span lang="TH"> ฉบับที่ 21 (ฉบับเดือนก่อน)<span> </span>อ.ไชยันต์ ไชยพร ตอบคำถาม อ.ใจ อึ๊งภากรณ์ ดังต่อไปนี้ (หน้า 77) </span></font></font></p>
<p style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt"><font face="Angsana New" size="5"> </font></p>
<p style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt"><font size="5"><font face="Angsana New"><span lang="TH">ใจ</span>:<span lang="TH"> อาจารย์คิดว่าเราควรยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหรือไม่ เพราะอะไร</span></font></font></p>
<p style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt"><font face="Angsana New" size="5"> </font></p>
<p style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt"><font size="5"><font face="Angsana New"><span lang="TH">(ไชยันต์)</span>:<span lang="TH"><span> </span>ควร ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ </span></font></font></p>
<p style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt"><font face="Angsana New" size="5"> </font></p>
<p style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt"><span lang="TH"><font face="Angsana New" size="5">ประการแรก เพื่อที่จะทำให้เกิดความเสมอภาคต่อกฎหมายมากขึ้น อย่างในกรณีของอังกฤษ เพียงเจ้าชายพระองค์หนึ่งของเขาขับรถด้วยความเร็วที่น่าอันตรายผิดกฎหมายบนมอร์เตอร์เวย์ ประชาชนของเขาสามารถแจ้งความร้องทุกข์ เจ้าหน้าที่ตำรวจก็รับแจ้งและดำเนินการสอบสวนเรื่องดังกล่าวอย่างเป็นที่พอใจ</font></span></p>
<p style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt"><font face="Angsana New" size="5"> </font></p>
<p style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt"><span lang="TH"><font face="Angsana New" size="5">ประการที่สอง กฎหมายดังกล่าวสมควรยกเลิก หากจะลดทอนการถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองในการเล่นงานปฏิปักษ์ทางการเมือง </font></span></p>
<p style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt"><font face="Angsana New" size="5"> </font></p>
<p style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt"><span lang="TH"><font face="Angsana New" size="5">ประการที่สาม สมควรเลิก หากจะนำมาซึ่งเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์และการใช้เหตุผลอย่างที่ผมได้แลกเปลี่ยนฉันมิตรกับอาจารย์ใจเช่นนี้<span> </span>และน่าจะให้คนทั่วไปได้มีเสรีภาพที่จะแลกเปลี่ยนกันเพื่อนำไปสู่คำตอบที่เป็นข้อตกลงร่วมกันของรูปแบบการปกครองที่เหมาะสมสำหรับสังคมไทยท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลง </font></span></p>
<p style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt"><font face="Angsana New" size="5"> </font></p>
<p style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt"><span lang="TH"><font face="Angsana New" size="5">ประการสุดท้าย การจะยกเลิก ควรให้มีการทำประชาพิจารณ์ทั่วไปเพื่อสร้างความเข้าใจและฟังความคิดเห็นของมหาชน</font></span></p>
<p style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt"><font face="Angsana New" size="5"> </font></p>
<p style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt"><font size="5"><font face="Angsana New"><span lang="TH">แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับองค์พระมหากษัตริย์จำเป็นต้องอยู่ในสถานะอันเป็นที่เคารพสักการะและฟ้องร้องไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญต่อไป ภายใต้เงื่อนไขของการใช้อำนาจอธิปไตยแทนปวงชนชาวไทย เพราะในกรณีปกติทั่วไป พระองค์ไม่ได้ทรงเป็นผู้ที่ริเริ่ม แต่ทรงได้รับการเสนอขึ้นมาจากฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ ส่วนในกรณีวิกฤติเกิดสถานการณ์ดังที่กล่าวไปข้างต้นว่าเป็น </span>"<span lang="TH">สถานการณ์ในจุดที่เป็นรอยต่อตรงนี้ กลายเป็นสถานการณ์ </span>'<span lang="TH">ยกเว้น</span>'<span lang="TH"> กรอบการใช้อำนาจ...ไม่มีรัฐธรรมนูญที่เคยกำหนดอำนาจหน้าที่และความสัมพันธ์ทางอำนาจและการใช้อำนาจระหว่างสถาบันต่างๆ ในระบอบการเมืองอีกต่อไป</span>"<span lang="TH"><span> </span>นั่นคือ ในสภาวะที่คลุมเครือในการมีอยู่ของรัฐธรรมนูญและกฎหมาย การกระทำใดๆของพระองค์เพื่อนำมาซึ่งความสงบเรียบร้อยคืนสู่สภาวะปกติ ย่อมถือว่าชอบธรรมในตัวมันเองอยู่แล้ว</span></font></font></p>
<p style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt"><span lang="TH"><font face="Angsana New" size="5"> </font></span></p>