[Tlc] T-politics

justinm at ucr.edu justinm at ucr.edu
Mon Jul 7 16:58:41 PDT 2008


Forwarded from Dr. Charnvit Kasetsiri.
Thank you,
justin


 http://www.prachatai.com/english/news.php?id=694
 
Prachatai.com English
Sirote Klampaiboon: A critique of the 30:70 idea. The People’s Alliance for Democracy alternative will not give the people more power.
Prachatai
04 July 2008
News

Is the PAD’s ‘new politics’ new?

Prachatai interviewed Sirote Klampaiboon, a PhD candidate of the Political Science Faculty of Hawaii University and a contributor to Prachatai, in light of the idea recently floated by the People’s Alliance for Democracy (PAD) coordinator Suriyasai Katasila, who proposed what he called a ‘new politics’, by which he meant that the proportion of those who take political positions would be 70% appointed and 30% elected.

Prachatai: It seems that the PAD has tried to keep coming up with new demands and ideas, with the latest being the 70:30 politics.  What do you think of this?

Sirote: According to the PAD, in particular Suriyasai, the problems of Thai politics nowadays result from elected politicians having too much power.  Their solution is to reduce electoral power, with 30% of political office holders elected and 70% selected or appointed, by which means has not been made clear.

The idea is not new at all in terms of political science and political history.  During the past 20 years, as far as I remember, this kind of idea has been proposed twice.  Around 1980, Gen Chavalit Yongchaiyuth, then a leader of the so-called ‘democratic military group’, who was close to certain defecting Marxists including Prasert Sapsunthorn, proposed a similar idea that elected politicians, including capitalists and businessmen, had too much power through elections, and electoral power had to be balanced by appointed parliamentarians, who happened to be mostly from the military.

And around 1993-4, political scientist Chai-anan Samutavanich reflected the same concerns and proposed the setting up of another body called ‘Shadow Council’ whose members would represent different groups of people, to balance the power of the elected House.

So, the ‘new politics’ as claimed by the PAD is not new.

Those who try to propose this idea don’t understand that it is not relevant in the Thai socio-political context.  It would always raise the same question about where the power to appoint those people would come from.

In the case of Gen Chavalit, obviously it would be the military.  And members of Chai-anan’s Shadow Council would be selected by the elite.

The PAD has not been clear about this, as they are well aware that the clearer the explanation of their ‘new politics’ is, the more politically incorrect they have become.  They would find it hard to answer who would decide who would represent which groups of people.

What if the PAD says that Sondhi Limthongkul represents the media?  The problem is that professional groups have not been politically organized.  Some have been organized, but their leadership is limited to a few persons who are famous or influential in those particular fields.  Can people like Sondhi be considered to represent the media, or reporters in the field, despite the huge gaps among them in terms of way of life, beliefs, and economic status?

The approach that claims to get various groups of professionals directly into Parliament is attractive to a certain extent, and persuasive to celebrities in various professions such as groups who are already organized like teachers and farmers, to think that they can enter Parliament without contesting elections.  The question is how to make sure that they really represent their professions.  Khamnoon Sitthisaman, for example, has been selected as a senator representing academia, instead of the media.  When has he become an academic?

So, is the PAD’s 70:30 ‘new politics’ really a step backward or forward?

It’s really backward and reactionary.  It’s a conservative idea that tries to undermine electoral politics.  Everybody knows that electoral politics has problems, including empowering certain groups over others.  What the PAD proposes is definitely not the way forward.

Everyone on earth knows about the problems that the PAD talks about, but selection does not solve the problems.  There are problems with elections, hence no elections?  The solution is to improve the elections, like liberalizing the party system, setting more controls over party spending, making smaller constituencies to allow more chance for people really representing the people to win.

Democracy is based on the principle that electoral power comes from the people.  The PAD is entitled to attack the elections, but their solution is not the way to empower the people more, bur will instead empower certain groups of people, hence returning to the ‘elitist politics’.

The PAD seems not to buy the principle that electoral power comes from the people. 

They don’t.  They believe that a number of Thai people are stupid, insufficiently educated and politically ignorant, so they are lured to sell their votes, choosing bad politicians.  Such an idea, that politics should be in the hands of educated people with proper ideas and understanding of politics, is elitist, conservative, and reactionary.

Democratic politics doesn’t value who is cleverer than who, who is better than who, or who is better educated, but holds that those with the lowest level of education have a vote equal to those with the best education.  ‘New politics’ must be based on the belief that everyone is equal.  Without this principle, any idea might go off the rails.

Even PAD supporters themselves don’t accept the idea of 70:30 politics.  According to Suriyasai’s own interview in the Thai Post newspaper on June 29, 2008, they don’t really understand the idea.  Just for fun, maybe Suriyasai is the only person who understands it.  The public find it hard to swallow, because there’s no guarantee about to how to select people from professional groups to be the 70%.  It’s a vague idea, like telling people who are politically active to sign a blank cheque for the PAD, hoping the PAD would spend it for us.

The PAD attacks politicians because they come from elections where it takes 5 seconds to vote, and the people just sign a blank cheque for them to do whatever they want.  But the PAD’s ‘new politics’ is worse, because in electoral politics, we know who we sign the cheque for, and know who to reclaim the cheque from.  The 70:30 politics might be like the approach on the Senate after the coup, an approach that the PAD has never had a problem with; that is, 7 persons have power to select senators equal to 30 million eligible voters.

How do you see the PAD’s rally so far?

The PAD consists of various sectors.  Those who call themselves the ‘people’s sector’ or ‘pro-democracy activists’ have hardly seen a mass as big as the PAD before, so they think to have such a massive crowd is to mobilize a democratic force, which is not.

Mass politics in many countries does not necessarily mean democracy.  Mass politics can be conservative, nationalist, or monarchist.  Those who killed students at Thammasat on Oct 6, 1976, also had a huge mass.

Therefore, mass politics does not equal democratic struggle.  No matter how big the mass is on the streets, without the principle of all being equal, regardless of birth or social status, that is not a democratic movement.  I believe that the PAD will increasingly become more nationalist.

Many have said that Thai society is pushing toward a crisis, with polarization and confrontation.  What do you think?

Political confrontation doesn’t mean political violence, provided we truly believe that political rallies are common in democracy.  The PAD always says rallies are a democratic right and freedom.  So rallies are no big deal.  In my view, just don’t bother, and let them continue.  It’s the right and freedom of those who agree with the PAD.  But it doesn’t mean that we are now encountering a violent situation.  Both the government and the PAD alike are trying to make the public believe that this is a polarized situation, and the people have to choose sides.

Polarization in itself doesn’t mean violence.  But the PAD is trying to escalate the polarization into violence, like when the PAD leaders speak on stage, calling on patriotic soldiers to come out.  That is dangerous.  It’s a problem of the PAD that they cannot discern that that would only serve themselves, not society.

Their style of rallies is also peculiar.  To seize Government House, they divided the crowd and mobilized them in a militaristic manner, to move forward and occupy as much space as they could.  Occupying space is military, not political.  Politics is about convincing people to be on our side.

The PAD’s movement has many aspects that need further discussion as to whether it is democratic or not.  For example, those who disagree with the PAD on their nationalist and monarchist stance would get branded as being disloyal or traitors.  Is this really for democracy?

 

Translated by Ponglert Pongwanan

Source: ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ : วิพากษ์แนวคิด 30: 70 ทางออกของพันธมิตรฯ ไม่ทำให้ประชาชนมีอำนาจมากขึ้น.

 

http://www.prachatai.com/05web/th/home/12706

 

ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ : วิพากษ์แนวคิด 30: 70 ทางออกของพันธมิตรฯ ไม่ทำให้ประชาชนมีอำนาจมากขึ้น พิมพ์บทความนี้

 

 

“ถ้ามองในแง่รัฐศาสตร์ แนวความคิดแบบนี้ มีเบื้องหลังมาจากทหารกลุ่มชนชั้นสูง กลุ่มชนชั้นนำมาเป็นเวลา 30 ปี”

“พันธมิตรฯ ก็รู้ว่าเรื่องการเมืองใหม่จะออกมาพูดให้ชัดเจนไม่ได้ เพราะยิ่งพูดชัดเจนเท่าไหร่ พันธมิตรก็จะยิ่งเสียในทางการเมืองมากขึ้น”

“พูดได้ว่าแนวคิด 70: 30 เป็นแนวคิดที่ถอยหลังเข้าคลอง เป็นแนวคิดที่ดูเหมือนก้าวหน้า แต่จริงๆแล้วเป็นแนวคิดแบบปฏิกิริยาล้าหลัง เป็นความคิดแบบอนุรักษ์นิยมที่พยายามโจมตีการเลือกตั้ง”

“สังคมประชาธิปไตยทั้งหมดอยู่บนหลักการที่ว่า อำนาจที่มาจากการเลือกตั้ง คืออำนาจที่มาจากประชาชน พันธมิตรฯโจมตีเรื่องการเลือกตั้ง โจมตีได้ แต่ว่าทางออกของพันธมิตรฯไม่ใช่ทางออกที่ทำให้ประชาชนมีอำนาจมากขึ้น ทำให้คนบางกลุ่มที่มีอำนาจในการแต่งตั้งมีอำนาจขึ้นมาเอง นั้นคือการกลับไปสู่การเมืองของอภิสิทธิชน”

การเมืองมวลชนไม่เท่ากับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ต่อให้มีมวลชนบนท้องถนนแค่ไหน ถ้าขบวนทั้งขบวนไม่ยึดหลักว่า ‘คนทุกคนเท่ากัน’ ไม่ว่าจะมีชาติกำเนิด ฐานทางสังคมแบบไหน หนึ่งคนหนึ่งเสียงเท่ากัน นั่นก็ไม่ใช่ขบวนการประชาธิปไตย

“ถ้าขบวนทั้งขบวนไม่ยึดหลักว่า ‘คนทุกคนเท่ากัน’ ไม่ว่าจะมีชาติกำเนิด ฐานทางสังคมแบบไหน หนึ่งคนหนึ่งเสียงเท่ากัน นั่นก็ไม่ใช่ขบวนการประชาธิปไตย”

 

 

‘ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์’ นักศึกษาปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งมลรัฐฮาวาย ให้สัมภาษณ์ประเด็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองของ ‘กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย’ โดยได้วิพากษ์ข้อเสนอล่าสุดของพันธมิตรฯที่ให้มีการเมืองแบบ 70: 30 ว่าเป็นแนวคิดถอยหลังเข้าคลอง อนุรักษ์นิยม ปฏิกิริยาล้าหลัง คลั่งชาติขึ้นเรื่อยๆ

ดูเหมือนว่ากลุ่มพันธมิตรฯ จะมีข้อเรียกร้องที่เป็นประเด็นใหม่ขึ้นมาทุกวัน ล่าสุด มีการเสนอการเมืองแบบใหม่ แบบ 70: 30 มีความเห็นอย่างไรต่อเรื่องนี้ ?

เท่าที่ได้ฟังทางกลุ่มพันธมิตรพูด โดยเฉพาะคุณสุริยะใส พยายามจะบอกว่า ปัญหาของการเมืองไทยตอนนี้เกิดขึ้นจากนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งมีอำนาจมากเกินไป ต้องหาทางออกโดยการกันอำนาจที่มาจากการเลือกตั้ง  แล้วข้อเสนอของกลุ่มพันธมิตร ก็คือ ต่อไปในในอนาคต นักการเมืองหรือผู้บริหารประเทศทั้งหมดที่มาจากการเลือกตั้งจะลดลงให้เหลือ 30 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 70 เปอร์เซ็นต์ มาจากการแต่งตั้ง แต่ว่าจะแต่งตั้งด้วยวิธีไหนก็ยังไม่มีการออกมาพูดให้ชัดเจน

แนวคิดนี้ ในแง่รัฐศาสตร์และประวัติศาสตร์ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ เท่าที่จำได้ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา มี 2 ครั้งแล้วที่มีข้อเสนอแบบนี้ ครั้งแรกในช่วงปี 2523 พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ตอนนั้นเป็นแกนนำของกลุ่มทหารประชาธิปไตย มีความใกล้ชิดกับนักวิชาการบางกลุ่มที่ทำงานให้กับรัฐ คือคุณประเสริฐ ทรัพย์สุนทร ได้เสนอแนวความคิดนี้ โดยปัญหาของการเมืองไทย คือ รัฐสภาและคนที่มาจากการเลือกตั้งมีอำนาจมากเกินไป ระบบเลือกตั้งทำให้นายทุนนักธุรกิจเข้ามามีอำนาจผ่านรัฐสภา ต้องหาทางออกจากระบบเลือกตั้ง ด้วยการเอาระบบแต่งตั้งเข้ามาคาน โดยเอาทหารเข้ามาแทน 

ครั้งที่สอง ปี 2536-2537 อาจารย์ชัยอนันต์ สมุทรวานิช ได้เสนอแนวความคิดนี้เหมือนกัน ว่าปัญหาของการเมืองไทยเกิดจากสภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจมาก ทางออกคือ ให้ตั้งสภาขึ้นมาซึ่งไม่ใช้วุฒิสภา ใช้คำว่า ‘สภากระจก’ มีการแต่งตั้งตัวแทนคนกลุ่มต่างๆขึ้นมา เอาสภานี้ขึ้นมาคุมอำนาจของสภาผู้แทนราษฎรอีกทางหนึ่ง

ดังนั้น ภาพรวมที่กลุ่มพันธมิตรฯ พูดว่าเป็นการสร้างการเมืองใหม่ จริงๆแล้วไม่ได้ใหม่ เป็นการนำแนวคิดที่เคยเสนอขึ้นมาแล้วโดยทหาร โดยชนชั้นนำ ที่พยายามจะบอกว่าการเลือกตั้งไม่ดี เพราะฉะนั้น ต้องแก้ปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่ดีโดยการเอาการแต่งตั้งขึ้นมาคุมอีกที่หนึ่ง ตรรกะจะเป็นเช่นนี้ตลอดเวลา

ในแง่ประวัติศาสตร์และรัฐศาสตร์ แนวความคิดแบบนี้ถูกเสนอโดยคนกลุ่มที่เป็นชนชั้นสูง ชนชั้นนำที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง เช่น กรณีพลเอกชวลิต ก็เสนอในนามของทหารประชาธิปไตย ด้วยเงื่อนไขในปี 2523 เราเริ่มมีรัฐบาลที่ยังไม่มีการเลือกตั้ง พรรคการเมืองเริ่มมีอำนาจมากขึ้น พลเอกชาวลิตในเวลานั้น เป็นแกนนำของกลุ่มทหารหนุ่มที่พยายามจะเข้ามาแทรกแซงการเมือง ก็เลยเสนอแนวความคิดแบบนี้ว่า พรรคการเมืองหรือสภาผู้แทนราษฎรไม่ใช้ตัวแทนภาคประชาชนจริงๆ ในกรณีของอาจารย์ชัยอนันต์ เรื่องสภากระจก ก็มีวิธีคิดแบบนี้เหมือนกัน ถ้ามองในแง่รัฐศาสตร์ แนวความคิดแบบนี้มีเบื้องหลังมาจากทหารกลุ่มชนชั้นสูงกลุ่มชนชั้นนำมาเป็นเวลา 30 ปี

แล้วแนวคิดเบื้องหลังในกรณีของพันธมิตรฯ คืออะไร?

คนที่พยายามเสนอแนวความคิดนี้ ไม่เข้าใจว่า ข้อเสนอนี้ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงในสังคมการเมืองไทยมันจะถูกตั้งคำถามคล้ายกันทุกสมัย ว่าจะเอาอำนาจจากไหนมาตั้งคนกลุ่มหนึ่ง อำนาจนี้มาจากใคร คนที่ตั้งมีความชอบธรรมในการตั้งคนอื่นแค่ไหน

ในกรณีของพลเอกชวลิต ในนามทหารประชาธิปไตย มันชัดเจนว่า คนที่จะตั้งผู้แทนกลุ่มที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งก็คือ ‘ทหาร’ ในสมัยอาจารย์ชัยอนันต์ คนที่จะมีอำนาจในการตั้งสภากระจก ก็คือกลุ่มนักวิชาการกลุ่มผู้รู้หรือที่เรียกว่า ‘อภิชนาธิปไตย’ เป็นพวกอภิชน

ในกรณีของกลุ่มพันธมิตรฯ ก็ไม่พูดให้ชัดเจน พันธมิตรฯ ก็รู้ว่าเรื่องการเมืองใหม่จะออกมาพูดให้ชัดเจนไม่ได้ เพราะยิ่งพูดชัดเจนเท่าไหร่ พันธมิตรก็จะยิ่งเสียในทางการเมืองมากขึ้น เพราะจะต้องถูกตั้งคำถามว่า ‘แล้วคนที่มาจากการเลือกตั้ง มาจากประชาชนจำนวนมากไม่สำคัญหรืออย่างไร’ หรือคำถามที่สำคัญคือ ‘ใครจะเป็นคนเลือกว่าคนกลุ่มไหนจะเป็นตัวแทนประชาชนกลุ่มต่างๆ’ สมมุติมีความพยายามสร้างการเมืองใหม่อย่างที่กลุ่มพันธมิตรฯว่าจริง  

ถ้าพันธมิตรบอกว่า คุณสนธิ ลิ้มทองกุล เป็นตัวแทนของวิชาชีพสื่อมวลชนจะได้หรือเปล่า ในที่สุดปัญหาของการเลือกแบบนี้ ก็คือพยายามอ้างว่าตัวแทนจากการเลือกตั้งโดยตรง ไม่ได้เป็นตัวแทนจริงๆ แล้วบอกว่าความเป็นตัวแทนที่แท้จริง คือการเอาตัวแทนมาจากอาชีพต่างๆ ปัญหาคืออาชีพต่างๆไม่ได้มีการจัดตั้งทางการเมือง ในบางอาชีพที่มีการจัดตั้งทางการเมือง โครงสร้างการจัดตั้งอยู่กับคนไม่กี่คน เป็นคนเด่นดัง เป็นผู้มีอิทธิพลในอาชีพนั้น  เช่น ตัวแทนสื่อมวลชน ถ้าเป็นตัวแทนอย่างคุณสนธิ จะถือว่าเป็นตัวแทนนักข่าวที่ทำงานในภาคสนามได้หรือเปล่า  

วิถีชีวิตต่างกัน ความเชื่อต่างกัน ฐานเศรษฐกิจต่างกันมหาศาล แนวทางแบบนี้อ้างว่าเอาวิชาชีพต่างๆ เข้าสู่สภาโดยตรงมีพลังในบางระดับ ทำให้คนเด่นคนดังในอาชีพต่างๆ คิดว่า จะเข้าไปอยู่ในสภาได้แล้วต่อให้ไม่เคยลงเลือกตั้งไม่มีคนรู้จักนอกวิชาชีพก็ตาม คนจำนวนมากอาจเคลิ้ม เช่น คนที่อยู่ในองกรค์จัดตั้งที่มีการรวมกลุ่มมาแล้วอย่างดี เช่น องค์กรครู องค์กรเกษตรกรบางกลุ่ม ทำให้ผู้นำบางคนรู้สึกว่าเราจะเข้าไปอยู่ในสภาได้ คำถามก็คือจะรู้ได้อย่างไรว่า คนแต่ละคนเป็นตัวแทนคนในอาชีพนั้นจริงหรือเปล่า โดยในเงื่อนไขที่ส่วนใหญ่ สังคมเราเป็นสังคมที่ปราศจากการจัดตั้งประชาชนเป็นกลุ่มก้อน เช่น ส.ว.สรรหาชุดนี้ชัดเจนในกรณีของคุณคำนูณ สิทธิสมาน เข้าไปสู่การเป็น ส .ว.ด้วยโควต้านักวิชาการ ซึ่งจริงๆแล้วต้องเข้าไปด้วยโควตาสื่อมวลชน ซึà¹
ˆà¸‡à¹„ม่รู้ว่าคุณคำนูณเป็นนักวิชาการเมื่อไหร่

สรุปคุณมองว่าแนวคิดการเมืองแบบ 70: 30 ที่พันธมิตรฯ เสนอออกมานั้นก้าวหน้าหรือถอยหลัง?

พูดได้ว่าแนวคิด 70: 30 เป็นแนวคิดที่ถอยหลังเข้าคลอง เป็นแนวคิดที่ดูเหมือนก้าวหน้า แต่จริงๆแล้วเป็นแนวคิดแบบปฏิกิริยาล้าหลัง เป็นความคิดแบบอนุรักษ์นิยมที่พยายามโจมตีการเลือกตั้ง ทุกคนรู้ว่าการเลือกตั้งมีปัญหา การเลือกตั้งทำให้คนบางกลุ่มมีอำนาจมากเกิน แต่วิธีการโจมตีสร้างกระแสแบบนี้ขึ้นมาเป็นคนละเรื่องกับทางออกที่กลุ่มพันธมิตรฯเสนอ  

คือพันธมิตรฯ พูดถึงปัญหาที่ทุกคนบนโลกรู้ว่า มันมีอยู่แต่ทางออกที่เอาระบบแต่งตั้งขึ้นมามันไม่ได้แก้ปัญหา พูดได้ว่าเป็นการมั่วประเด็น มีปัญหาในเรื่องการเลือกตั้งเลยบอกว่าไม่เลือกตั้ง เลยเอาแต่งตั้งมาดีกว่า นี้คือการมั่วประเด็นทางการเมือง ถ้าการเลือกตั้งมีปัญหาวิธีแก้ต้องจัดการเลือกตั้งให้มีปัญหาน้อยลง เช่น ให้พรรคการเมืองตั้งได้อิสระมากขึ้น ควบคุมบริหารการใช้เงินมากขึ้น จัดเขตเลือกตั้งให้เล็กลงเพื่อให้คนที่เป็นตัวแทนระดับรากฐานจริงๆมีโอกาสเข้าสู่การเลือกตั้งแล้วชนะได้ เช่น ในสมัยรัฐธรรมนูญปี 2540 ชัดเจนเพราะเขตเลือกตั้งเล็ก ตัวแทนจำนวนหนึ่งเป็นตัวแทนที่ประชาชนชอบและเข้าไปได้จริงๆ

ปัญหาเรื่องการเลือกตั้ง โยงกับวิธีจัดการเลือกตั้ง วิธีการบริหารการเลือกตั้ง ไม่ได้มีทางออกที่บอกว่า เลิกการเลือกตั้ง แล้วการแต่งตั้งเข้ามาแทน ในแง่ประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางการเมืองทั่วโลก ปัญหาที่มีมา คือการต่อสู้ของอำนาจที่มาจากการเลือกตั้ง และอำนาจที่มาจาการแต่งตั้ง ใครควรถือว่าเป็นตัวแทนประชาชนที่แท้มากกว่ากัน  

สังคมประชาธิปไตยทั้งหมดอยู่บนหลักการที่ว่า อำนาจที่มาจากการเลือกตั้ง คืออำนาจที่มาจากประชาชน  พันธมิตรฯโจมตีเรื่องการเลือกตั้ง โจมตีได้ แต่ว่าทางออกของพันธมิตรฯไม่ใช่ทางออกที่ทำให้ประชาชนมีอำนาจมากขึ้น ทำให้คนบางกลุ่มที่มีอำนาจในการแต่งตั้งมีอำนาจขึ้นมาเองนั้นคือการกลับไปสู่ ‘การเมืองของอภิสิทธิ์ชน’

หลักการสำคัญ คือประชาธิปไตยหมายถึงอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ประชาชน หมายถึงประชาชนระดับปัจเจก คือคนแต่ละคน ประชาธิปไตยทำงานบนความเชื่อที่คนแต่ละคนเท่ากัน หมายความว่า คนแต่ละคนมีสิทธิที่จะเลือกได้ว่า อยากยกคะแนนเสียงของตนให้ใคร อยากให้ใครเป็นนายกฯ  

แต่ดูเหมือนว่าที่ผ่านมา พันธมิตรฯไม่เชื่อในหลักการแบบนี้ ?

ปัญหาคือ พันธมิตรฯไม่เชื่อเรื่องนี้ พันธมิตรฯเชื่อว่า ประชาชนจำนวนหนึ่งในประเทศของเราโง่ การศึกษาต่ำไม่เข้าใจการเมืองดีพอ ถึงถูกหลอกให้ซื้อเสียงแล้วก็ไปเลือกนักการเมืองที่ไม่ดีขึ้นมา ความคิดว่าการเมืองควรจะเป็นเรื่องของคนที่มีการศึกษา มีความคิดดี มีความเข้าใจการเมืองดีแล้วเท่านั้น ความคิดแบบนี้ เป็นความคิดแบบชนชั้นสูง อนุรักษ์นิยม พวกปฏิกิริยา

การเมืองแบบประชาธิปไตยไม่ได้วัดว่า ใครฉลาดกว่ากัน ใครเป็นคนดีกว่า ใครมีการศึกษาสูงกว่ากัน แต่มีความเชื่อว่าแม้กระทั่งคนที่มีการศึกษาต่ำที่สุด ก็มีเสียงเท่ากับคนที่มีการศึกษาดีที่สุดของประเทศ เพราะฉะนั้น จึงใช้วิธีว่าหนึ่งคนหนึ่งเสียงในที่สุดทุกคนเท่ากันหมด ฐานในการสร้างการเมืองใหม่ต้องยึดเรื่องความเชื่อที่ว่า คนแต่ละคนเท่ากัน ถ้าไม่เอาเรื่องนี้เป็นหลักการ เสนอข้อเสนอใดใดก็จะออกทะเล หรือเข้ารกเข้าพงไป

แม้กระทั่งในฝ่ายพันธมิตรฯเองยังรับเรื่อง 70: 30 ไม่ได้ จากที่ได้อ่านในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ที่คุณสุริยะใส ให้สัมภาษณ์เองว่า พวกพันธมิตรเองก็ไม่ค่อยเข้าใจเรื่อง 70:30 ถ้าพูดเล่นๆ ก็ไม่รู้ว่าจะมีแต่คุณสุริยะใสที่เข้าใจคนเดียวหรือเปล่า? โดยกระแสสังคมยังเข้าใจได้ยาก เพราะว่าไม่มีหลักประกันว่า คนแต่ละกลุ่มอาชีพจะถูกดึงเข้าไปอยู่ใน 70 เปอร์เซ็นต์ได้อย่างไร เป็นข้อเสนอที่ในทางการเมืองเลื่อนลอย เหมือนกับบอกให้ประชาชนท ี่ตื่นตัวทางการเมืองเซ็นเช็คเปล่า ยกอำนาจให้พันธมิตรไป แล้วเชื่อว่าพันธมิตรฯจะเอาเช็คไปใช้เพื่อเราจริงๆ  

เมื่อก่อนพวกพันธมิตรชอบโจมตีพวกนักการเมืองว่า เป็นพวกที่มาจากการเลือกตั้ง 5 วินาที ประชาชนก็เหมือนเซ็นเช็คเปล่าให้นักการเมืองไปทำอะไรตามอำเภอใจ แต่ว่าระบอบใหม่ของพันธมิตรแย่กว่านั้น เพราะหลอกประชาชนให้ไปเซ็นเช็คให้ใครก็ไม่รู้ ในระบบเลือกตั้ง เรายังรู้ว่าเซ็นเช็คให้ใคร ยังรู้ว่าจะไปยึดเช็คคืนจากใครได้  แต่ในระบบ 70: 30 ไม่มีใครรู้ว่าระบบเป็นอย่างไร อาจเป็นแนวทางที่เคยเกิดในการเลือกตั้ง ส.ว.ที่ผ่านมาหลังรัฐประหาร ซึ่งพันธมิตรไม่เคยคัดค้านเลย คือคน 7 คนมีอำนาจในการเลือก ส.ว.เท่ากับคน 30 ล้านคน เป็นไปได้อย่างไรที่ระบบประชาธิปไตยในประเทศนี้อ้างว่าคน 7 คนมีอำนาจเท่ากับคน 30 ล้านคน ในการเลือก ส.ว. พันธมิตรไม่เคยพูดเรื่องพวกนี้ว่าเป็นเรื่องที่ผิด

มาถึงตรงนี้ มองการขับเคลื่อนของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง?

กลุ่มพันธมิตรฯมาจากองค์ประกอบหลายส่วน เฉพาะพวกที่เรียกว่าตนเองเป็นภาคประชาชน หรือพวกที่เป็นนักเคลื่อนไหวประชาธิปไตย มีปัญหาคือ ไม่เคยเจอการเมืองมวลชนหรือการเมืองบนท้องถนนที่มีขนาดเท่าพันธมิตรมาก่อน เลยคิดว่าการมีมวลชนจำนวนมาก เท่ากับเป็นการเคลื่อนไหวประชาธิปไตย ซึ่งไม่ใช่

การเมืองแบบมวลชนในหลายประเทศ ไม่ได้หมายถึงการเมืองแบบประชาธิปไตย การเมืองแบบมวลชนอาจจะเป็นการเมืองแบบอนุรักษ์นิยม การเมืองชาตินิยม ราชาชาตินิยมก็ได้ คนที่ฆ่านักศึกษาตอน 6 ตุลา ก็มีมวลชนจำนวนมากบนท้องถนนที่พร้อมจะฆ่านักศึกษาเหมือนกัน

เพราะฉะนั้น การเมืองมวลชนไม่เท่ากับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ต่อให้มีมวลชนบนท้องถนนแค่ไหน ถ้าขบวนทั้งขบวนไม่ยึดหลักว่า ‘คนทุกคนเท่ากัน’ ไม่ว่าจะมีชาติกำเนิด ฐานทางสังคมแบบไหน หนึ่งคนหนึ่งเสียงเท่ากัน นั่นก็ไม่ใช่ขบวนการประชาธิปไตย โดยส่วนตัว เชื่อว่าพวกพันธมิตรจะเป็นพวกคลั่งชาติขึ้นมาเรื่อยๆ

มีความเห็นอย่างไรที่หลายฝ่ายบอกว่าขณะนี้สังคมไทยใกล้วิกฤติ มีการแบ่งขั้ว มีการเผชิญหน้ากัน ?

การเผชิญหน้าทางการเมืองไม่ได้หมายถึง การมีความรุนแรงทางการเมือง ถ้าเราเชื่อจริงๆว่าการชุมนุมเป็นเรื่องธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย พันธมิตรก็จะชอบพูดว่าการชุมนุมเป็นสิทธิเสรีภาพทางประชาธิปไตย ถ้าเช่นนั้นการชุมนุมก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร โดยส่วนตัวก็คิดว่า ไม่ต้องสนใจอยากจะชุมนุมก็ชุมนุมไป เป็นสิทธิเสรีภาพของคนที่เชื่อแบบพันธมิตร แต่ไม่ได้หมายความว่า ปัจจุบันเรากำลังเผชิญกับสถานการณ์ที่รุนแรงแล้ว ทั้งฝั่งรัฐบาลกับฝั่งพันธมิตรคล้ายๆกัน คือพยายามทำให้คนในสังคมรู้สึกว่า สถานการณ์ในประเทศแบ่งขั้ว แล้วประชาชนต้องเลือกข้าง  

การแบ่งขั้ว ไม่ได้หมายถึงความรุนแรงในตัวมันเอง อย่างเช่น ถ้าพันธมิตรพยายามให้การแบ่งขั้ว มันยกระดับไปสู่ความรุนแรงในหลายเรื่อง เช่นเรียกทหารออกมา เวลาผู้นำพันธมิตรขึ้นปราศรัย ก็จะพูดว่าให้ทหารที่รักบ้านเมืองออกมาได้แล้ว ประเด็นคือ เป็นการยกระดับจากการชุมนุมทางการเมือง การแบ่งขั้วทางการเมืองไม่ได้เป็นเรื่องน่าตกใจอะไร แต่การเรียกทหารออกมาเป็นเรื่องอันตราย เป็นปัญหาของพันธมิตรที่แยกไม่ได้ว่า การต่อสู้เพื่อพันธมิตรเองไม่ได้เพื่อตอบปัญหาสังคมแล้ว

การชุมนุมของพันธมิตรเองก็แปลกประหลาด จากการชุมนุมเพื่อประชาธิปไตยหลายเรื่อง เช่น วิธีจัดชุมนุมวิธีเคลื่อนชุมนุมแบบทางทหาร ในส่วนตัวคิดว่าไม่มีการชุมนุมที่ไหนในโลกที่ทำแบบที่พันธมิตรทำ แบบที่บุกทำเนียบ  ที่แบ่งประชาชนเป็นกลุ่มต่างๆ แล้วเคลื่อนเพื่อให้ยึดพื้นที่ได้มากที่สุด วิธีการยึดพื้นที่เป็นเรื่องของการทหาร ไม่ใช่วิธีของการเมือง การเมืองเป็นเรื่องของการจูงใจคนในสังคมให้อยู่กับฝ่ายเรา

การต่อสู้ทางการเมืองในแบบพันธมิตร มีมิติหลายๆ เรื่องที่เราต้องถกเถียงต่อว่า เป็นการชุมนุมแบบประชาธิปไตยหรือไม่เป็นประชาธิปไตยแฝงอยู่เยอะ อย่างเช่น การชูเรื่องชาตินิยม ชาติ พระมหากษัตริย์ ใครที่ไม่เห็นด้วยกับพันธมิตร คือคนที่ไม่จงรักภัคดี เป็นคนที่ทำลายชาติ การชุมนุมแบ่งนี้เป็นการชุมนุมเพื่อประชาธิปไตยหรือเปล่าอย่าง เช่น ในสมัยตอน 6 ตุลา คนจำนวนมากก็ออกไปชุมนุมที่ลานพระบรมรูปฯ แล้วอ้างว่าสู้เพื่อปกป้องชาติศาส กษัตริย์ แล้วก็ฆ่าคนไปเป็นจำนวนมาก  

เพราะฉะนั้น การชุมนุมแบบที่เน้นเรื่องความมั่นคงของชาติ เน้นเรื่องชาตินิยม การจงรักภักดี เป็นการชุมนุมแบบประชาธิปไตยจริงหรือเปล่า!?



โดย : ประชาไท   วันที่ : 1/7/2551 
______________
Dr. Justin McDaniel
Dept. of Religious Studies
3046 INTN
University of California, Riverside
Riverside, CA 92521
951-827-4530
justinm at ucr.edu



More information about the Tlc mailing list